เทพเจ้าของจีน ไฉ่ซิ้งเอี๊ย เทพแห่งโชคลาภ ผู้ใดอ่านแล้วร่ำรวย,มีโชค
ผู้เขียน: ไพรัช เฮงตระกูลสิน
การไหว้เจ้า เป็นที่ชมชอบของคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย เช่นเดียวกับการนับถือพระพุทธศาสนา การไหว้เจ้าของจีนก็มีเคล็ดรางและพิธีการหลาย ๆ อย่าง นอกจากธูปเทียนแล้ว ก็ยังมีทั้งวัตถุ, วัตถุมงคล, กระดาษเงินกระดาษทอง, และเครื่องเซ่น, มากน้อยตามความศรัทธา จึ่งมีผู้รู้มาบอกเล่าเกี่ยวกับพิธีไหว้เจ้าทั้งจริงบ้าง รู้จริงบ้าง ไม่รู้จริงบ้าง เท็จบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วมักรู้มาโดยการบอกเล่า มีนักเขียนหลายท่านเขียนว่า "อากงอาม่าเล่าว่า" จึ่งยังไม่มีการเจาะลึกถึงที่มาที่ไปของเจ้า แท้ที่จริงนั้น วัฒนธรรมของจีน เป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่และที่สุดในโลกที่ยังไม่ตาย ยังมีที่ใช้กันอยู่ แต่บางครั้งก็ถูกบิดเบือนโดยผู้ลอกเลียน และการแปลลอกเลียนมาจากขี้ปากของฝรั่งที่ไปลอกของจีนมาอีกที&nb sp; ทำให้ความหมายของนัยยะผิดเพี้ยนไป วัฒนธรรมทางภาษาและอักษรของจีนเป็นเอกลักษณ์และเอกภาพของตนเอง& nbsp; แม้นว่าปัจจุบันมีการพัฒนาตัวอักษรจีนเป็นตัวย่อเขียนง่าย ; แต่ก็ไม่ได้ย่อความหมายและสาระตามตัวอักษรด้วย จีนได้เปรียบตรงที่สามารถผลิตกระดาษและพู่กันมาใช้เขียนหนังสือ มาแต่โบราณก่อนใครเพื่อน การบันทึกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ด้วยระยะกาลเวลาอันนานหลา ยพันปีเป็นที่แน่นอนเชื่อถือได้และสามารถค้นคว้าได้แก่คนรุ่นหล ัง ประวัติศาสตร์บางตอนของบางประเทศยังเป็นที่สับสน เช่นการถกเถียงว่าด้วยศิลาจารึกยังไม่เป็นที่ยุติในประเทศไทย&n bsp; ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับจีนหลาย ๆ บทความทั้งที่ลงในกระดานนี้และกระดานอื่นและที่ยังมิได้ลง ; ใช่ว่าเป็นการคุยโอ่ยกตนข่มท่าน ผมมีปณิธานเพียงหนึ่งเดียว "เพื่อเผยแพร่ความรู้ของจีนที่ถูกต้องแก่อนุชนรุ่นหลัง"
เทพเจ้า ไฉ่ซิ่งเอี๊ย (ไฉเสินหยา) คือเทพเจ้าแห่งทรัพย์สินและโชคลาภ
วันที่ 5 เดือนที่ 1 จีน เป็นวันรับเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง
วันที่ 4 เดือนที่ 4 จีน เป็นวันรับเทพเจ้าทั้งหลาย ก่อนหน้าวันตรุษจีน เทพเจ้าทั้งหลายต่างเสด็จขึ้นสวรรค์ เพื่อกราบทูลรายงานตัว และรายงานความดีชั่วบาปบุณคุณโทษของมนุษย์ต่อผู้เป็นใหญ่บนสรวง สวรรค์ เรียกว่า ซิ้งเจี่ยที (เสินซ่านเทียน) จนกระทั่งเสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ในวันที่ 4 ภายหลังตรุษจีน ผู้คนชาวบ้านทั้งหลายต่างพากันเซ่นไหว้ต้อนรับกันเป็นที่เอิกเร ิก และล่วงมาอีก 1 วัน คือวันที่ 5 การฉลองต้อนรับวันปีใหม่ตรุษจีนก็เริ่มยุติ แต่ก็ยังมีการต้อนรับเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง ด้วยใจเบิกบาน ด้วยความหวังใหม่ คนบางกลุ่มบางเผ่าบางเหล่า ได้แบ่งแยกเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง ออกเป็น 2 ฝ่าย คือเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง ฝ่ายบู๊ บู่ไฉ่ซิ้ง (อู่ไฉเสิน), และเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง ฝ่ายบุ้ง บุ่งไฉ่ซิ้ง (เหวินไฉเสิน) เทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง ได้แก่เทพเจ้า เหี่ยงตั๊วเตียวง่วงส่วย (เสียนถานจ้าวหยวนซุ่ย), เทพเจ้า ฮั่วฮะน่อเซียง (เหอเหอเอ้อเซียน), เทพเจ้า เหล่าไห้ (หลิวไห่), เทพเจ้า เจียวไช้ท่งจื้อ (จ้าวไฉถงจื่อ), เทพเจ้า ห่วยฮ้วยจิ้งป้อ (ฮุยฮุ่ยจิ้นเป่า), เทพเจ้า ไฉ่กง (ไฉกง), และเทพเจ้า ไฉ่บ๊อ (ไฉมู่), เทพเจ้าเหล่านี้ล้วนจัดเป็นเทพเจ้าฝ่าย บุ่งไฉ่ซิ้ง ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า เจ็งฮกไฉ่ซิ้ง (จั้นฝูไฉเสิน) แปลว่า เทพเจ้าประทานโชคลาภวาสนา ส่วน เทพเจ้า "ไฉ่เปะแชกุง (ไฉไป่ชินจวิน), เทพเจ้า บู่เสียกวงกง (อู่เซ่อกวนกง), เป็นเทพเจ้าฝ่าย บู๊ไฉ่ซิ้ง มีบางมติจัดให้เทพเจ้า เหี่ยงตั๊วง่วงส่วย เป็นเทพเจ้าฝ่าย บู๊ไฉ่ซิ้ง
เทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง เป็นเทพเจ้าที่ผู้คนชาวบ้านต่างนิยมชมชอบเป็นที่สุด ; เทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง มีที่มาที่ไปหลายมติหลายตำนาน แต่ที่รู้จักและเข้าใจกันดีคือ เทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง มีที่มาจากหนังสือเรื่อง < ฮงซิ้งเอี่ยหงี (ฟงเสินหยิ่นอี่) > ซึ่งแต่งโดยท่านเล็กไซแช (ลู่ซีชิน) ในยุคสมัยราชวงศ์ เม้ง (หมิน) พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 2187 หนังสือเรื่อง < ฮงซิ้งเอี่ยงหงี > ฮงซิ้ง แปลว่าการแต่งตั้งเทพเจ้าเทวดา เอี่ยงหงี แปลว่าแสดงบทขยายความ ดั่งเช่นหนังสือเรื่อง < สามก๊ก > ของท่าน หล่อกวงตง (หลอก่วนจง) ก็ใช้คำว่า < ซำกกเอี่ยงหงี (ซานกว๋อหยิ่นอี้) > เหมือนกัน เรื่อง < ฮงซิ้งเอี่ยงหงี > มีอีกชื่อหนึ่งว่า < ฮงซิ่งปั้ง (ฟงเสินป้าน) > ซึ่งแปลว่ากระดานป้ายประกาศแต่งตั้งเทพเจ้า หนังสือเรื่อง ฮงซิ้งเอี่ยงหงี นี้ ได้ถูกแปลเป็นภาคภาษาไทยโดยบรรพบุรุษของคนไทยและคนจีนเมื่อครั้ งสมัยยุคต้นรัตนะโกสิน ร. 2 ทั้งนี้เพราะพระองค์ท่านทรงแลเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมจีน ; ที่หล่อหลอมกับวัฒนธรรมไทย ก่อนที่วัฒนธรรมของไทยถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมของฝรั่งในหลาย ; ๆ สิบปีที่ผ่านมา เรื่อง < ฮงซิ้งเอี่ยงหงี > ในภาคภาษาไทยมีชื่อว่า < พงศาวดารจีนห้องสิน > หรือ < ห้องสิน > เป็นเรื่องราวกึ่งประวัติศาสตร์ ซึ่งท่าน เล็กไซแช ได้ยกประวัติศาสตร์จีนตอนการทำสงครามระหว่าพระเจ้า ติวอ๊วง (ติวหวาง) ฮ่องเต้ องค์สุดท้ายของราชวงศ์ เซียง (ซาน) ก่อน พ.ศ. 1222 - ก่อน พ.ศ. 578 และพระเจ้า บู่อ๊วง (อู่หวาง) แห่งราชวงศ์ ไซจิว (ซีโจว) หรือ จิวตะวันตก ก่อน พ.ศ. 578 - ก่อน พ.ศ. 227 เนื่องจากในประเทศจีน ผู้คนประชาชนต่างนับถือศาสนา เต๋า อยู่ก่อน ภายหลังเมื่อศาสนา พุทธ ได้เผยแพร่เข้ามายังประเทศจีน ศาสนา เต๋า และศาสนา พุทธ ต่างแก่งแย่งชิงศรัทธาความเชื่อถือความนับถือจากประชาชนชาวจีนท ั่วทั้งประเทศ จนกระทั่งกลับกลายเป็นการหล่อหลอมกันทางวัฒนธรรมอย่างกลมกลืนกั นในที่สุด ท่าน เล็กไซแช ได้จับความเอา เกียงจื่อแง้ (เจียนจื่อหยา) แม่ทัพใหญ่ของพระเจ้า จิวบู่อ๊วง ชนะศึกในสงครามอันยาวนาน สงครามนี้มีการใช้อิทฤทธิ์ฤทธิ์เดชและของวิเศษเครื่องใช้ต่าง&n bsp; ๆ รบราทำสงครามกัน เกียงจื่อแง้ ได้ยกทัพกลับบ้านเมืองเมื่อทำสงครมปราบศึกจนสงบราบคาบ &nb sp; และได้แต่งตั้งเทพเจ้าต่าง ๆ ทำหน้าที่ต่าง ๆ ทั้งบนโลกและในจักรวาล เทพเจ้าทางศาสนา เต๋า และเทพยดาทางศาสนา พุทธ ล้วนมีที่มาและที่ไปจากหนังสือเล่มนี้แทบทั้งสิ้น

ท่าน เล็กไซแช ได้นำชื่อพระพุทเจ้า, พระโพธิสัตว์, และพระอรหันต์, ของทางศาสนาพุทธ มาแต่งตัวเป็นเทพเจ้า เป็นเซียนทางฝ่ายศาสนา เต๋า เดิมศาสนา เต๋า ไม่มีเทพเจ้า 4 โลกบาล ท่านได้นำพี่น้องตระกูล แซ่ม้อ (ซิ่นเหมา) มาเป็นเทพเจ้า 4 โลกบาลได้อย่างไม่คึเขิน พอเหมาะพอเจาะ ดั่งทุกวันนี้ ในวัดจีนแทบทุกวัด มักมีการจัดสร้างเทพเจ้า 4 โลกบาล ตรงทางเข้าประตูวัดด้วยรูปร่างที่สูงใหญ่ทั้งสี่สูงท่วมเพดานวั ด เกียงจื่อแง้ ได้ขึ้นไปบนปรำพิธีแต่งตั้งเทพเจ้า ประกาศว่า
"โดยเทวะโองการของท่าน ไท้เสียงง่วงสีเทียงจุง (ไท่ซ่านหยวนสีเทียนจุน) ด้วยว่า เตียวกงเม้ง (จ้าวกงหมิน) อุตตส่าห์บำเพ็ญเพียร ฝึกสมาธิ ณ เขาลึก มิวายมารกิเลสพระเพลิงเผาผลาญ เห็นผิดเป็นชอบ ยามอยู่มิอาจเข้าแดนนิพพาน ยามสิ้นได้รับเทวะโองการ โปรดให้เป็นเทพ กิมเล้งยู่อี่เจี้ยอิกเล่งโฮ่วเหี่ยงตั๊วจิงกุง (จินหลงหยูอี้เจิ้นอิหลงหู่เสี้ยนถานเจินจวิน)"
แปลว่า สุวรรณมังกร สมคิดเอกธรรมมังกรพยัคฆ์ ลี้ลับสถาน จิงกุง คำว่า จิงกุงเป็นชื่อตำแหน่งยศทางเทพ
เทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง เตียวกงเม้ง มีเทพเจ้า ไฉ่ซิ้งองค์รองเป็นบริวารอีก 4 องค์คือ
เทพเจ้า ไฉ่ป้อเทียงจุง (ไฉเป่าเทียนจุน) รับตำแหน่งโดยนายทัพ เซียวเซ็ง (เซียวเซิน)
เทพเจ้า นับเตียงเทียงจุง (น่อเจินเทียนจุน) รับตำแหน่งโดยนายทัพ เชาป้อ (เชาเป่า)
เทพเจ้า เจียวไช้ไซ้เจี้ย (จ้าวไฉไส้เจี่ย) รับตำแหน่งโดยนายทัพ ตั่งกิ๋วกง (เฉินจิ่วกง)
เทพเจ้า ลีฉีเซียงกัว (หลี่ชี่เซียนกวน) รับตำแหน่งโดยนายทัพ เอี้ยวเซ้าซี (เหยาเส้าซี)
บุ่งไฉ่ซิ้งที่สำคัญอีกองค์หนึ่งคือ องค์ที่เป็นขุนนางผู้ซื่อสัตย์ของพระเจ้า ติวอ๊วง แห่งราชวงศ์ เซียง ชื่อ ปีกัง (ปี่กัน) เนื่อจากการกราบทูลตักเตือนพระเจ้า ติวอ๊วง ให้ยุติพฤติกรรมที่โหดร้าย ถูกพระนาง ตั๋งกี้ (ตั้นจี) พระชายาของพระเจ้า ติวอ๊วง ทำร้ายควักหัวใจออกมาทำยาบำรุง ขุนนาง ปีกัง สิ้นชีพตักสัย ประชาชนทั่วไปต่างมีความเสียใจ และเสียดายความซื่อสัตย์ของขุนนาง ปีกัง จึ่งพากันนับถือบูชาและแต่งตั้งให้เป็นเทพเจ้า บุ่งไฉ่ซิ้ง เรื่องราวของเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง มีมติความเชื่อถือแตกต่างกันมากหลายของแต่ละชนชาติ แต่ละชนเผ่า แต่ละท้องถิ่น ซึ่งยากที่จักฟันธงเป็นเอกฉัน ซึ่งผู้เรียบเรียงจักค้นคว้านำมาเสนอต่อ ๆ ไป
วันที่ 15 เดือนที่ 3 จีน เป็นวันเกิดของเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง เหี่ยงตั๊วเตียวกงเม้งง่วงส่วย ท่านเป็นเทพตำแหน่งหนึ่งใน จิงกุง ของศาสนา เต๋า แซ่เตียว (ซิ่นจ้าว) ชื่อ เหี่ยงตั๊ว (เสียนถาน) นับแต่สมัยโบราณมา นับถือกันว่าเป็นเทพเจ้า บู่ไฉ่ซิ้ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เทพเจ้า ตงโล่วไฉ่ซิ้ง (จงลู่ไฉเสิน) แปลว่า เทพเจ้าไฉ่ซิ้งประจำทิศกลาง
เทพเจ้า บู่ไฉ่ซิ้ง เตียวกงเม้ง มีการจัดสร้างเป็นรูปปั้นหรือกระเบื้องเคลือบ วางขายกันทางแถบถนนเยาวราชและถนนเจริญกรุง ส่วนใหญ่คนจีนใช้เป็นวัตถุมงคลสำหรับจัดตั้งหรือบูชา เทพเจ้า เตียวกงเม้ง ที่แท้จริงนั้นท่านขี่หลังเสือดำ มือถือกระบองเหล็กเป็นปล้อง ๆ มีหน้าตาดุหนวดเฟื้อมรุงรัง รูปลักษณะคล้าย เตียวหุย ปัจจุบันรูปปั้นที่ออกมามีทั้งนั่งขี่เสือลายและเสือดาว
1 . จากหนังสือ < จิ้งเตาเซี้ยม (จิ้นเตาเสียน) หรือ เซียวซิ่งกี่ (โซวเสินจี้) เล่มหลัง > ว่า : เตียวเหี่ยงตั๊ว (จ้าวเสี้ยนถาน) เป็นคนสมัยยุคราชวงศ์ ชิ้ง (ฉิน) พ.ศ. 3123 - พ.ศ. 338 สำเร็จมรรผลที่ภูเขา ตงน้ำซัว (จงหนานซาน)
2 . จากหนังสือ < ซี้ไห้ (ซื่อไห่) > ว่า : เตียวเหี่ยงตั๊ว นับถือกันว่าเป็นเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง มีรูปลักษณ์ผิวดำ หนวดเคราหยาบกระด้าง ขับขี่พาหนะเสือดำ รู้จักกันในนามว่า เตียวกงเม้ง สมัยราชวงศ์ ชิ้ง (ฉิน) สำเร็จมรรคผลที่ภูเขา ตงน่ำซัว ทรงพระราชทางพระยศเป็น เจี้ยอิกเหี่ยงตั๊วง่วงส่วย (เจิ้นอิเสียนถานหยวนซุ่ย)
3 . จากหนังสือ < ฮงซิ่งปั้ง > ว่า : เทพเจ้า เหี่ยงตั๊ว นั่นก็คือ เตียวกงเม้ง สำเร็จมรรคผลที่ภูเขา ง่อไบ่ซัว (เอ๋อไหมซาน) กับข้อที่ 1 . , กับข้อที่ 2 . , ล้วนแตกต่างกัน เนื่องด้วยตามตำนาน < ทงเทียงก้าจู้ (ทงเทียนเจี้ยวจู่) > และตำนานการแต่งตั้งเทพเจ้าของ เกียงจื่อแง้ ว่า เทพเจ้า เกียงจื่อแง้ แผลงเกาทัณฑ์ 7 ดอกเสียบลำคอสิ้นชีพ โปรดแต่งตั้งเป็นเทพเจ้า เจี้ยอิกเล่งโฮ่วเหี่ยงตั๊วจิงกุง ทรงพระราชทานเป็น ตงโล่วไฉ่ซิ้ง (พระราชทานโดย ฮ่องเต้) เทพโชคลาภทางทิศกลาง หรือเป็นองค์ ไฉ่ซิ้ง ตัวจริง ทรงรับการบูชาด้วยธูปเทียนจากมนุษย์ ทรงเสด็จนำเทพเจ้า โหงวโล่วไฉ่ซิ้ง (อู่ลู่ไฉเสิน) หรือเทพเจ้าโชคลาภประจำทิศทางทั้งห้า ตรวจตราทั่วโลก อีกมติกล่าวว่า ทรงเป็นเทพเจ้า เพียงไฉ่ซิ้ง (เพียนไฉเสิน) หรือเทพเจ้าโชคลาภจร, เทพเจ้าโชคลาภลอย, เป็นเทพเจ้าแห่งมหาอำมาตย์ ควบคุมการเงินและทรัพย์สินของโลกมนุษย์
4 . จากหนังสือ < เช็งโง่วซก (ชินอู่ซู่) > ว่า : ในวันเกิดของเทพเจ้า ให้ปิ้งเนื้อจุดธูปเทียนบูชาเทพเจ้า เป็นวันที่เทพเจ้าประทานพร ประทานทรัพย์สินเงินทองให้แก่คนทั้งหลายร่ำรวย คนโบราณมักปั้นเป็นรูปทองของเทพเจ้าเซ่นไหว้บูชา กล่าวอีกตำนานว่า เทพเจ้าเป็นคนศาสนา อิสลาม ไม่ทรงรับประทานเนื้อหมู ให้บูชาเซ่นไหว้ด้วยเนื้อวัวเนื้อควาย นิยมเรียกเทพเจ้าอีกนามหนึ่งว่า เจ่ง่วงส่วย (เจ้หยหวนซุ่ย) กล่าวกันอีกว่าในยุคสมัยราชวงศ์ ปักจิว (เป่ยโจว) พ.ศ. 1100 - พ.ศ. 1124 นับถือกันว่าเทพเจ้า ง่วงตั๊ว (หยวนถาน) ก็คือเทพเจ้า ปักซิ้ง (เป่ยเสิน) เป็นเทพเจ้าประจำฝ่ายทิศเหนือ ทิศเนหือคือธาตน้ำ สัญลักษณ์สีดำ จึ่งมักบูชาเทพเจ้าทางทิศนี้
5 . จากหนังสือ < โกวโซวจี่ (กูซูจี้) > ว่า : เทพเจ้า แซ่เตียว (ซิ่นจ้าว) นาม นึ้ง (หลาน) ฉายา กงเม้ง (กงหมิน) เป็นพี่น้องกับ เตียวจื่อเล้ง (จ้าวจื่อหลง) หรือ จูล่ง ใน < สามก๊ก > ซึ่งมีแซ่เดียวกัน แต่ไม่เป็นที่ยืนยัน
6 . จากคำเล่าลือว่า : เทพเจ้า เตียวกงเม้ง เป็นคน ตงน่ำซัว (จงหนานซาน) มณฑล เหียบไซ (ซ่านซี) เป็นนายทัพขุนศึกของราชวงศ์ เซียง) ในยุคสมัยราชวงศ์ ชิ้ง (ฉิน) ปลีกตัวบำเพ็ญพรต ณ ภูเขา สำเร็จมรรคผล พระเจ้า เง็กเซียน ฮ่องเต้ ทรงโปรดให้เป็นเทพผู้นำในหมู่เทพ สวมมาลาเป็นมงกุฏเหล็ก มือถืออาวุธกระบองเหล็ก มีหนวดเคราหยาบกระด้างรกรุงรัง ขี่หลังพยัคฆ์ตรวจตราเยี่ยม 3 ภพ สำรวจ 5 ทิศทาง เทพเจ้า เตียวกงเม้ง มีความสามารถอิทธิฤทธิ์มากมาย บัญชาการควบคุมฟ้าแลบฟ้าลั่น ควบคุมเมฆหมอกลมฝน ทุกข์ภิบัติภัยร้ายต่าง ๆ มีอำนาจควบคุม 8 เทพอสูร, 6 เทพสรพัดพิษ, เทพอสุนีย์ 5 ทิศทาง, กองทัพระห่ำ 5 ทิศทาง, และนายทัพสวรรค์ทั้ง 28,
ในวันรับ ไฉ่ซิ้ง ผู้คนร้านค้าต่างตระเตรียมของเซ่นไหว้ด้วยกระยาหารเนื้อปลา&nbs p; 3 อย่าง, ผลไม้, ธูปเทียน, และประทัด, แต่ภายหลังยุคราชวงศ์ เม้ง มีความเชื่อถือกันว่า เทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง เป็นคน อิสลาม ตั้งแต่แถบกรุง ปักกิ่ง, มณฑล กังโซว (เจียนซู), มณฑล ซี้ชวง (เสฉวน), ผู้คนต่างนิยมบูชาเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง ด้วยเนื้อโคหรือเนื้อกระบือ ไม่นิยมบูชาด้วยเนื้อสุกร ยังมีรูปวาดของเทพเจ้า ไฉ่ซิ้ง ยืนเคียงข้างด้วยรูปผู้ช่วยมีรูปร่างเครื่องแต่งกายมิใช่คนจีน& nbsp; เป็นแขกหนวดเครารกรุงรัง เข้าใจว่าเป็นชาว อาหรับ ที่ติดตามขันที แต่ฮั้ว (เจิ้นเหอ) นักสำรวจนักเดินเรือชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่เมื่อยุคสมัยราชวงศ์ ; เม้ง ได้นำเครื่องราชบรรณาการของชาว อาหรับ มาถวายแก่พรเจ้า หย่งลัก (หย่งเลอะ) พ.ศ. 1945 - พ.ศ. 1967
7 . มีอีกมติว่า : เทพเจ้า ไฉ่ซิ่งเอี๊ย (ไฉเสินหยา) แซ่ฮ้อ (ซิ่นเหอ) นาม โหงวโล่ว (อู่ลู่) เป้นคนปลายยุคสมัยราชวงศ์ ง้วง (หยวน) พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1911 ถูกพระราชทานความตาย เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าผู้คุ้มครองนักเดินทาง 5 ทิศทางประสพทรัพย์ โบราณว่า โหงวโล่วไฉ่ซิ้ง (อู่ลู่ไฉเสิน)
จากหนังสือ < ฮงซิ้งเอี่ยงหงี > เรื่องราวของ ไฉ่ซิ่งเอี้ย ความโดยละเอียดว่า : บทที่ 47 กงเม้ง (กงหมิน) ช่วยเหลือ บุ่งไท้ซือ (เหวินไท่ซือ)
กล่าวถึง จื่อแง้ (จื่อหยา) พบ กงเม้ง อยู่เบื้องหน้า คารวะโดยมารยาท กล่าวว่า
"ท่านเพื่อนนักพรต เต๋า มีสำนักอยู่ ณ ถ้ำใด, สำนักใด"
กงเม้ง ตอบ
"ข้าพเจ้า เตียวกงเม้ง นิวาสสถานอยู่ ณ ถ้ำ ล่อฮูตั่ง (หลอฟูต้ง) ภูเขา ง่อไบ่ซัว (เอ๋อไหมซาน) ท่านตีค่ายของสหายข้าพเจ้า เพื่อน เต๋า ทั้ง 6 แตก วิทยายุทธของท่านสูงส่งยิ่ง เพื่อนทั้ง 6 ของข้าพเจ้าเจ็บใจยิ่งนัก แล้วยังให้ เตียวกัง (จ้าวเจียน) แขวนผืนหญ้าประจาน น่าแค้นใจยิ่ง เกียงเสียง (เจียนซ่าน) ข้าพเจ้ารู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของสำนัก เง็กฮือเก็ง (ยวิ่เฮอกง) ที่ข้าพเจ้าลงจากสำนักมาวันนี้ ก็เพื่อมาทดสอบกำลังฝีมือของท่าน"
แล้วก็ควงกระบองเหล็กบุเข้าหา จื่อแง้ จื่อแง้คว้ากระบี่ขึ้นรับอย่างเร่งรีบ สองขุนศึกปะทะพันตรูกัน รบด้วยหลายกระบวนท่า กงเม้ง ชูกระบองเหล็กชี้ฟ้า แสงแลบแปลบปลาบดั่งฟ้าร้อง น่าสะพึงกลัว จื่อแง้ รับไม่ทัน ถูกกระบองเหล็กฟาดมาหนึ่งกระบวนท่า หล่าจา (เน่ยจา) รีบใช้ทวนอัคนีเข้าขัดขวาง กิมจา (จินจา) รีบเข้าช่วยเหลือ เกียงจื่อแง้ จื่อแง้ถูกกระบองฟาดด้านหลังบาดเจ็บ สิ้นชีพมรณะ หล่าจา ร่ายรำเพลงทวนเข้าต่อกรด้วย เตียวกงเม้ง ไม่นับกระบวนท่า ถูกกระบองของ กงเม้ง ฟาดหล่นลงจากวงล้อพายุอัคนี อึ่งเทียงห่วย (หวงเทียนฮว่า) เห็นเช่นนั้นก็รีบขับไส กิเลนหยก ใช้ตะบองลูกตุ้มคู่เข้าต่อต้าน กวงเม้ง หลุ่ยจิ่งจื้อ (หลุยจิ้นจื่อ) กางปีกเหาะขึ้นบนอากาศ ใช้ไม่พลองทองเหลืองบุกโจมตีลงมา เอี่ยเจี้ยง (หยานจ้าน) เจ้าสามตา ควงทวนบนหลังม้าบุกเข้ามาห้อมล้อม เตียวกงเม้ง ; อยู่ใจกลาง ร่วมมือกันบุกขยี้ เตียวกงเม้ง
เตียวกงเม้ง รับมืออยู่สามทิศทาง เบื้องบนมี ลุ่ยจิ่งจื้อ เบื้องล่างมี อึ่งเทียงห่วย เอี่ยเจี้ยง อยู่ด้านข้าง แอบปล่อยสุนักสวรรค์ขึ้นมา รูปลักษณ์ดั่งคชเศวต เป็นสัตว์วิเศษยิ่ง สุนัขเทวดา ฉายาว่า เอวเล็ก ฮึกเหิมดุดัน ศีรษะทองแดงคอเหล็กกล้า พบพานศัตรูกัดติดกระดูก เตียวกงเม้ง มิทันระวังตัว ถูกสุนัขงับกัดบาดเจ็บที่คอ รีบใช้ผ้าคลุมอุดบาดแผล เป็นพยัคฆ์ที่บาดเจ็บถอยเข้าค่าย บุ่งไท้ซือ เห็น เตียวกงเม้ง ถอยทัพกลับสอบถามเรื่องราว
"เผลอไปหน่อย"
แล้วรีบแทยาวิเศษออกจากน้ำเต้าทาสมานแผล
กล่าวฝ่าย จื่อแง้ ถูกกระบองเหล็กของ กวงเม้ง ฟาดตาย ถูกนำเข้าทำเนียบของนายก ฯ พระเจ้า บู่อ๊วง (อู่หวาง) ทรงทราบข่าว จื่อแง้ตาย ทรงรีบเสด็จนำขุนนางนายทัพและพลเรือนเข้าดู จื่อแง้ ณ ทำเนียนายก ฯ ทรงเห็นหน้าของ จื่อแง้ ขาดซีดดั่งกระดาษ หลับตานอนไม่ไหวติง ทรงรำพึงว่า
"ไม่สมควร"
ขณะที่ทรงพระวิตกนั้น มีประกาศว่า
"ก่วงเซ่งจื้อ เข้าเฝ้าขอพบ จื่อแง้"
พระเจ้า บู่อ๊วง ทรงโปรดให้เข้าเฝ้า ณ พลับพลา ทรงตรัสถามว่า
"เจ้าพี่ ท่านมหาอำมาตย์สิ้น จักทำประการใดดี"
ก้วงเซ่งจื้อ กราบทูลตอบ
"ไม่ทราบว่า จื่อแง้ ยังมีเคราะห์กรรมในวันนี้"
แล้วให้นำน้ำมาหนึ่งจอก นักพรต เต๋า ล้วงยาเม็ดวิเศษออกมา งัดปาก จื่อแง้ หย่อนยาเม็ดล่วงเข้าสู่ลำคอ รอคอยเวลาชั่วยาม จื่อแง้ ร้องครวญครางเริ่มขยับตัว
"เจ็บปวดยิ่งนัก"
เบิกตาขึ้นสองข้าง บู่อ๊วง กับ ก้วงเซ่งจื้อ ประทับยืนอยู่เคียงข้างที่นอน จื่อแง้ เพิ่งรู้ว่าตนเองบาดเจ็บตาย รีบขยับตัวจักลุกขึ้นคำนับพระคุณของ ก้วงเซ่งจื้อ ๆ ขยับมือโบกห้ามไว้
"ท่านพึ่งฟื้นเกิดใหม่ อย่าเพิ่งขยับตัว ปล่อยภาระให้ข้าพเจ้าขึ้นหอหญ้าไม้เฝ้าดู เตียวกงเม้ง เถิด"
แล้วรีบจรขึ้นหอหญ้าไม้เฝ้า นึกถึงคำพูดของ เหยี่ยงเต็งเต่ายิ้ง (เหยียนเตินเต้าหยิน) &nb sp;
"การชุบช่วยชีวิตของ จื่อแง้ ให้ จื่อแง้ นอนพักฟื้นภายในค่าย"
กล่าวฝ่าย เตียวกวงเม้ง วันรุ่งขึ้น รีบถือกระบองเหล็กขี่หลังเสือออกจากค่าย มาท้ารบที่ประตูหน้าค่ายของฝ่ายศรัตรู ปะ เยี่ยงเต็งเต่ายิ้ง กำลังพูดคุยกับ หล่าจา เหยี่ยงเต็ง จัดกำลังทัพออกจากประตูค่าย แลเห็น กงเม้ง ฮึกเหิมดั่งพายุ นัยตาทั้งสองแฝงแววพิฆาต เป็นนักพรตที่ดุร้าย เยี่ยงเต็ง น้อมศีรษะคารวะ กงเม้ง ว่า
"เจ้าพี่ เต๋า ขอคารวะ"
กงเม้ง ตอบกลับว่า
"พี่ เต๋า ท่านได้รังแกศิษย์ร่วมสำนักของข้าพเจ้ามามากไปแล้ว พี่ เต๋า รู้หรือไม่ว่า ศิษย์ร่วมสำนัก เง็กฮือเก็ง เป็นข้าพเจ้าแนะนำเข้า อาจารย์พี่ เต๋า และอาจารย์ของข้าพเจ้า ล้วนเป็นสายลี้ลับเดียวกัน บำเพ็ญพรตสำเร็จวิชาเซียนมรรค ต่างร่วมแรงร่วมใจเป็นผู้นำ เผยแพร่พระศาสนา ท่านทั้งหลายให้ เตียวกัง แขวนผืนหญ้าประจาน เท่ากับหมิ่นประมาทท่านครึ่ง ข้าพเจ้าครึ่ง ท่านเข้าใจไหม"
เหยี่ยงเต็ง ตอบ
"ท่านพี่ เต๋า แซ่เตียว เมื่อถึงครากระดานประกาศแต่งตั้งเทพเจ้า ท่านเป็นคนหนึ่งในนั้นใช่หรือไม่"
"ทำไมข้าเจ้าจักไม่รู้"
เหยี่ยงเต็งกล่าว
"ท่านควรรู้อีกว่า อาจารย์ท่านเคยเอ่ยถึงชื่อแซ่ ถึงผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเทพเจ้า ภายในสามสำนักนั้น มีการแต่งตั้งแต่ยังไร้เงา อาจารย์ของพี่ท่านย่อมรู้ดี ทำไมใจของท่านพี่ในวันนี้ จึ่งยังไม่เข้าครรลองธรรม จงใจฝืนฟ้าลิขิต ย่อมเป็นหนทางของพี่ท่านเอง ข้าพเจ้าขอตักเตือนว่า ดีชั่วยังไม่ประจักษ์ ข้าพเจ้ารับโองการจาก ฮ่องเต้สวรรค์ ดำเนินสู่วิสุทธิมรรค ปัจจุบันยากหลุดจาบ่วงกิเลส ท่านพี่ เต๋า ยินดีปรีดาในลาภยศสรรเสริญ ขอท่านพี่ไตร่ตรองให้รอบคอบ"
นักพรต อึ่งเล้งจิงยิ้ง (หวงหลงจินหยิน) ขับขี่นกกระเรียนมาข้างหน้า ร้องตวาดว่า
"เตียวกงเม้ง" ;
เอาละ.. ขอพักการเสนอประวัติของ ไฉ่ซิ่งเอี๊ย เคียวกงเม้ง ไว้ก่อน
แต่จักขอเสนอ ไฉ่ซิ่งเอี๊ย อีกองค์ ซึ่งคนชั้นหลังเชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภจร หรือลาภลอย หรือเทพเจ้า แห่งการพนัน
มีวัตถุมงคลขายกันเกลื่อน เป็นรูปคางคก มี 3 ขา มีเหรียญเงินเหรียญทองกระจายอยู่ตามร่าง และยังคาบเหรียญในปากอีกหนึ่งเหรียญ แต่ก็ยังมิมีใครรู้ที่มาและที่ไปของสัตว์คางคกตัวนี้ลึกซึ้งเพี ยงพอ
คางคก โชคลาภตัวนี้มีชื่อว่า เซียมซู้ (เซียนซวู) เป็นคางคก 3 ขาที่มิธรรมดา กล่าวกันว่าเป็นสัตว์เทพนิยายที่อยู่ในโลกพระจันท่ร์ &nbs p; เป็นปีศาจมีฤทธิ์สามารถแปลงร่างเป็นคนได้ และสามารถกลืนกินพระจันทร์ทำให้เกิดจันทรคราส นี่เป็นความเชื่อทางศาสนา เต๋า ซึ่งตรงกับความเชื่อทางศาสนา พุทธ และศาสนา พรามห์ ที่เชื่อกันว่า ราหูอมจันทร์ กรณีย์ความเชื่อทางพระราหู ทำให้หมอดูไทยหลายท่านทำมาหากินด้วยกันให้ชาวบ้านเซ่นไหว้ด้วยอ าหารคาวหวานเป็นสีดำ 8 อย่าง ผู้เรียบเรียงเคยเห็นชาวบ้านตามบ้านนอกทำเซ่นไหว้กันอยู่หลายปี คากงคก เซียมซู้ จึ่งเป็นคางคกปีศาจ ภายหลังถูกเซียนอิทธิฤทธิ์ท่านหนึ่งปราบลง ลดทิฐิจากเป็นฝ่ายอธรรมมาอยู่ฝ่ายธรรมะ มีคุณสมบัติที่พิเศษคือ ชอบคาบเงินคาบทองไว้ในปาก และคายให้แก่คนที่ด้อยฐานะ แต่มีโชคลาภ ต่อมาภายหลังจึ่งถูกผู้คนนับถือ เป็นสัตว์ตัวเงินตัวทองให้ลาภ (มิใช่สัตว์ของไทย อย่าได้เข้าใจผิด) ดั่งนั้น คนจีนทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจีนชาว ฮ่องกง และ มาเก๊า มักหาเช่าวัตถุมงคลตัวนี้มาตั้งไว้ภายในบ้านหรือโต๊ะทำงาน ; โดยตั้งหันหน้าเข้าหาตัวผู้ใช้ มินิยมตั้งหันออกสู่หน้าบ้านหรือประตูหน้าบ้านประตูห้องดั่งเช่ นวัตุมงคลทั่ว ๆ ไป
เซียนวิเศษที่คนจีนรุ่นหลังนับถือว่าเป็น ไฉ่ซิ่งเย อีกองค์หนึ่งนามว่า เล่าไห่เซียง หรือ เล่าไห่เซี้ยม (หลิวไห่เซียน) เซียน เล่าไห่เซี้ยม เคยเป็นลูกศิษย์ของ เซียน คณะ โป๊ยเซียง (8 เซียน) ท่านเซียนเกิดวันที่ 10 เดือนที่ 6 จีน เป็นเซียนเทพเจ้าหนึ่งในห้าประจำด้านทิศเหนือ มียศศักดิ์ขั้น จิงยิ้ง (เจินหยิน) ท่านเซียเป็นผู้บุกเบิกสายนิการ ไห่เซี้ยม ของศาสนา เต๋า เดิมทีเคยถูกผนวกเข้าเป็น 1 ใน 8 เซียน (โป๊ยเซียน) ที่ชาวจีนนับถือกันทั่วประเทศ ท่านถูกชักนำเข้าสู่มรรคาแห่งเซียน โดยท่านผู้นำเทพ โป๊ยเซียน ฮูอิ๋วตี่กุง (ฟูโหย่วตี้จวิน) หรือท่านเซียน ลิ่อท่งปิง (ลวี่ถงปิน) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน ที่สวมหมวกเต๋า สะพายกระบี่ด้านหลัง อีกมติหนึ่งว่า ท่านถูกชักนำโดยท่านเซียน เจ็งลี้ตี่กุง (จงหลี่ตี้จวิน) หรือท่านเซียน ฮั้งเจ็งลี้ (ฮั่นจงหลี่) เป็นหนึ่งใน โป๊ยเซียน ลักษณะพุงพลุ้ย ไม่สวมเสื้อมือถือพัด ท่านเซียน แซ่เล้า (ซิ่นหลิว) นามว่า เฉ่า (เชา) หรือ เตี๊ยก (ชวี่) มีนามรองว่า ตงเซ้ง (จงเฉิน) หรือ ไห่เซี่ยมกง (ไห่เซียนกง)
ท่านเซียน เป็นชนชาวเมืองแคว้นรัฐ อี่ซัว (เยี่ยนซาน) เกิดในยุตสมัย โหงวต่อ (อู่ต้าย) พ.ศ. 1450 - พ.ศ. 1503 สำเร็จการศึกษาในตำแหน่ง จิ้งสือ (จิ้นซื่) ที่แคว้นรัฐ เลี้ยว (เหลียว) เมื่ออายุ 16 ปี สอบไล่ได้รับราชการกับราชวงศ์ กิม (จิน) อายุ 50 ปี ได้รับตำแหน่งเป็นมหาอำมาตย์ ในรัชสมัยของพระเจ้า เล่าซิ่วกวง (หลิวซิ่วกวน) วันหนึ่งขณะว่างจากการเข้าเฝ้าถวายงานราชการ มี เต่ายิ้ง (เต้าหยิน) แปลกหน้า 2 ท่านมานั้งขนาบข้าง กล่าวชวนพูดคุยเกี่ยวกับวิถีแห่งเต๋า และการบำเพ็ญตบะ ทันใด้นั้น ท่าน เต้าหยิน ทั้งสองได้นำเหรียญทองขึ้นมาพวงหนึ่ง กับไข่ไก่อีก 10 ฟอง ท่าน เต้าหยิน ได้วางตั้งไข่ฟองหนึ่งซ้อนด้วยเหรียญอีกอันหนึ่ง ซ้อนเรียงสลับกันขึ้นไปเรื่อย ๆ ท่านเซียน เล่าไห่เซียง ลอบชำเลือง พลางรำพึงว่า
"อันตรายยิ่ง"
เต้าหยินทั้งสองตอบว่า
"คนเราถ้ายิ่งอยู่ในฐานะโชคลาภวาสนา ก็มักฟุ้งฟื้อลืมตน เช่นเดียวกับฟองไข่ไก่ อยู่ท่ามกลางการวางซ้อนของเหรียญทองอันมีค่า ก็ย่อมเป็นอันตรายเช่นเดียวกัน"
ท่านเซียน เกิดปัญญารู้ทันความคิด ไม่ติดในลาภยศวาสนา จึ่งละทิ้งไปบำเพ็ญพรต ณ ภูเขา ตงน้ำซัว (จงหนานซาน) ได้รับการสืบทอดวิชาเซียนจากปรมาจารย์เซียน ลื่อท่งปิง (ลวี่ถงปิน) เล่าเรียนทางมรรคผล ฝึกปรุงยาอายุวัฒนะ สำเร็จเป็น เซียน
อีกมติหนึ่ง เล่ากันว่า ในศักราช คังฮี (คันซี) พ.ศ. 2187 - พ.ศ. 2204 แห่งราชวงศ์ เช็ง (ชิน) ที่เมือง โซวจิว (ซูโจว) มีพ่อค้าคนหนึ่งชื่อ ป่วยเคว่งบุ้ง (เป้ยหงเหวิน) มีเด็กคนหนึ่งชื่อ อาเป้า (อาเป่า) มาที่บ้านขอสมัครทำงาน อาเป้า ขะมักขะเม้นทำงานด้วยความขยังหมั่นเพียร แต่ อาเป้า เป็นคนประหยัดมัทยัท มำงานกี่วันกี่คืน ก็ไม่ยอมกินไม่ยอมดื่ม ซ้ำเงินค่าจ้างก็ไม่ยอมเบิก คนทั้งหลายต่างพากันประหลาดใจ วันหนึ่ง นายจ้างได้สั่งให้เขาทำความสะอาดหม้อปัดสวะ อาเป้า นำหมอปัดสวะทำความสะอาดพลิกด้านนอกด้านในดั่งพลิกทำความสะอาดกร ะเพาะสุกร ทั้ง ๆ ที่หม้อปัดสวะนั้นทำด้วยดินเหนียวกระเบื้องเคลือบ สร้างความหวาดหวั่นตกตะลึงแก่คนที่พบเห็นทั่ว ๆ ไป อีกครั้งหนึ่ง ในคืนวัน ง่วงเซียว (หยวนเซียว..วันที่ 15 ภายหลังตรุษจีน) อาเป้า ได้อุ้มบุตรชายของนายจ้างไปเที่ยวดูงานฉลองโคมไฟ เมื่อไปถึงกลางตลาดก็หายตัวไปอย่างลึกลับฉับพลัน เป็นที่เที่ยวตามหาเป็นห่วงแก่คนทั้งครอบครัว พอตกดึกใกล้เที่ยงคืน อาเป้า ก็อุ้มเด็กบุตรของนายจ้างกลับมา กล่าวว่า
"โคมไปที่นี่ในปีนี้ไม่ตระการตา ข้าจึ่งอุ้มน้องน้อยไปเที่ยวที่เมือง ฮกจิว (ฟู่โจว) โคมไพที่นันเจริญหูเจริญตาน่าพิศวงยิ่ง"
คนทั้งหลายต่างย่นหน้าขมวดคิ้วด้วยความไม่เชื่อใจ เพราะระยะทางการเดินทางไปยังเมือง ฮกจิว นั้นต้องใช้เวลาหลายวัน ดัวนั้น อาเป้า จึ่งล้วงเข้าไปภายในอกเสื้อของเด็กน้อย ดึงเอาลิ้นจี่ออกมา 10 กว่าผล
"ท่านทั้งหลาย เชิญดูซิ นี่คือ ลิ้นจี่ของเมือง ฮกจิว ใช่หรือไม่ (ประเทศจีนสมัยนั้น ผล ลิ้นจี่ มีเฉพาะที่เมือง ฮกจิว เท่านั้น)"
คนทั้งหลายจึ่งพากันยอมเชื่อว่า ที่แท้นั้น อาเป้า ก็คือ เซียน แปลงร่างมานั่นเอง หลายเดือนต่อมา อาเป้า ได้ไปตักน้ำ ณ บ่อน้ำของหมู่บ้าน จับได้คางคก เซียมซู้ 3 ขาตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ใช้เชือกคล้องคอขับขี่มาเป็นบริวาร ข่าวคราวได้แพร่กระจายออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ ผู้คนต่างพากันกล่าวขานกันว่ามี เซียน เล่าไห่เซียง ได้มาปรากฏร่างที่บ้านครอบครัวของตระกูล แซ่ป๋วย ต่างพากันแย่งชิงกันไปดู ชุลมุนวุนวายกันที่หน้าบ้านของตระกูล แซ่ป๋วย ทั้งวันทั้งคืน ครั้นแล้ว อาเป้า ก็ขี่คางคก เซียมซู้ ออกมา ยกมือคารวะเจ้าของบ้าน แล้วก็ขี่คางคกเหาะลอยขึ้นฟ้าไฟ
ท่านเซียน แม้นว่ายังมิได้ถูกจัดอันดับเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ แต่ผู้คนต่างก็มีศรัทธาเชื่อกันว่า ท่านเวียนมีเมตตาสูง ชอบช่วยเหลือให้โชคลาภแก่ผู้คน รูปลักษณ์ หรือวัตถุของท่านเซียนมีหลายรูปแบบ รูปที่นิยมกันที่สุด เห็นจักเป็นรูปท่านเซียนด้านหลังแบกถุงเงินถุงทอง หรือมือถือเงินทองแสดงท่าแจกเงินทอง และกำลังหยอกล้อเล่นกับคางคก เซียซู้ ซึ่งหมายถึงว่า เทพเจ้า เล่าไห่เซียง และคางคก เซียมซู้ ต่างให้โชคลาภแก่คนที่มีโชค คนจีน โดยเฉเพาะอย่างยิ่งคนจีนทางใต้, คน ฮ่องกง, คนมาเก๊า, ต่างนิยมหาซื้อรูปคางคก เซียมซู้ มาตั้งไว้ในบ้าน ซึ่งในเมืองไทยก็มีคนรู้จักกันดี และนิยมนำหยก ทอง หรือวัตถุมีค่ามาแกะสลักเป็นรูปเทพเจ้า เล่าไห่เซีย ง และรูปคางคก เซียมซู้ คน ฮ่องกง, คน มาเก๊า, เวลาไปเล่นการพนันในบ่อนหรือในสนามม้า หรือซื้อสลาก ล๊อตเตอรี่ย์ มักนิยมพกพารูปแกะสลักหรือเหรียญเทพเจ้า เล่าไห่เซียง ติดตัวไปด้วย
อนึ่ง มีสัตว์โบราณอีกชนิดหนึ่งซึ่งคนจีนนิยมนับถือว่าให้โชคลาภการพน ัน คือสัตว์ "พีฮิว" รูปลักษณ์คล้ายกับสัตว์กิเลน แต่หน้าตาคล้ายกับมังกร กลางศีรษะมีเขาเดียว เรียกว่า "พีฮิว" แต่ถ้ามี 2 เขา เรียกว่า "ปีเซี้ย" มักพบเห็นตั้งอยู่ที ่หน้าบ่อนการพนันของคนจีนทั่ว ๆ ไป
ไพรัช เฮงตระกูลสิน 0 9459 4833
อ้างอิงจาก http://www.sakulthai.com/board/forum_posts.asp?TID=423
|